จำนำ กับจำนอง แบบคร่าวๆ

แชร์หน้านี้ผ่าน facebook แชร์หน้านี้ ทาง twitter แชร์หน้านี้ผ่าน google+ แชร์หน้านี้ผ่าน pinterest

จำนอง
การจำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (มาตรา ๗๐๒)
ทรัพย์สินที่จะจำนองได้ คือ
๑. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
๒. สังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ที่จะจำนองได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายและเฉพาะสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ (๑) เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป (๒) แพ (๓) สัตว์พาหนะ(๔) สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ (มาตรา ๗๐๓)
การจำนองจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๑๔)
ถ้าการจำนองไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ (มาตรา ๑๕๒)
การบังคับจำนองมี ๒ วิธี คือ
๑. การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาด (มาตรา ๗๒๘)
๒. การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้เอาทรัพย์สินที่จำนองหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนอง (มาตรา ๗๒๙)

ความหมายของการจำนำ
จำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครอง
ของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ.มาตรา๗๔๗)
ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงินจาก นาย ข. เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท โดยนาย ก. ได้มอบสร้อยคอทองคำให้
นาย ข. ยึดถือไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ ๓,๐๐๐ บาท ของนาย ก. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า
สัญญาจำนำ




แชร์หน้านี้ผ่าน facebook แชร์หน้านี้ ทาง twitter แชร์หน้านี้ผ่าน google+ แชร์หน้านี้ผ่าน pinterest